เมนู

21. อัตถิปัจจัย


[2110] 1. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ, หทยวัตถุเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย.
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ
ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป 1 เป็นปัจจัยแก่มหาภูตรูป 3
ฯลฯ.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจ
ของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรมที่เกิดภายหลัง และ กวฬีการาหาร
ที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย

[2111] 2. อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปุเรชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลอื่นพิจารณาเห็นจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหาร ที่เป็นอัชฌัตตธรรมเป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[2112] 3. พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่พหิทธาธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
พหิทธาธรรม ไม่มีอะไรแตกต่างกัน บทมาติกาทั้งหลาย พึงให้พิสดาร.
[2113] 4. พหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย


มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปุเรชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักษุที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ.
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กวฬีการาหารที่เป็นพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอัชฌัตต-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[2114] 5. อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่
อัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปุเรชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
รูปายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม และจักษุที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็น
ปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นพหิทธา-
ธรรม และกายายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็น
อัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปายตนะที่เป็น พหิทธาธรรม และหทยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรม ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ที่เป็นพหิทธาธรรม และหทยวัตถุที่เป็นอัชฌัตตธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น อาหาระ ได้แก่
กวฬีการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่
กายที่เป็นอัชฌัตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
[2115] 6. อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรม เป็นปัจจัยแก่
พหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น ปุเรชาตะ และ อาหาระ
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
รูปายตนะที่เป็นอัชฌตตธรรม และจักขายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม
เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกายายตนะที่เป็นพหิทธาธรรม
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
รูปายตนะที่เป็นอัชฌตตธรรม และหทยวัตถุที่เป็นพหิทธาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ
โผฏฐัพพพายตนะที่เป็นอัชฌัตตธรรม และหทยวัตถุที่เป็นพหิทธาธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น อาหาระ ได้แก่
กวฬีการาหารที่เป็นอัชฌัตตธรรม และกวฬีการาหารที่เป็นพหิทธา-
ธรรม เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นพหิทธาธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

22. นัตถิปัจจัย ฯลฯ 24. อวิคตปัจจัย


[2116] อัชฌัตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัชฌัตตธรรม ด้วย
อำนาจของนัตถิปัจจัย, เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของวิคตปัจจัย, เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจของอวิคตปัจจัย.


การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[2117] ในเหตุปัจจัย มี 2 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 4 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 2 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 2 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 2 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 4 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 6 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ
ในกัมมปัจจัย มี 2 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 2 วาระ ในอาหารปัจจัย มี
6 วาระ ในอินทริยปัจจัย มี 2 วาระ ในฌานปัจจัย มี 2 วาระ ในมัคค-
ปัจจัย มี 2 วาระ ในสัมปยุตตปัจจัย มี 2 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 2
วาระ ในอัตถิปัจจัย มี 6 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 2 วาระ ในวิคตปัจจัย
มี 2 วาระ ในอวิคตปัจจัย มี 6 วาระ.
พึงนับอย่างนี้.
อนุโลมนัย จบ